วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วิธีทำ SEO บน Facebook


Image
Facebook เครือข่ายสังคมที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกในปัจจุบัน เป็นที่รู้จักทั่วทุกมุมโลก มีสมาชิกเข้าร่วมในเครือข่ายแล้วกว่า 200 ล้านคน องค์กรนับพันแห่งต่างเข้ามาใช้ชุมชนแห่งนี้ในการโปรโมตบริษัท กิจกรรม และสร้างแบรนด์ของตัวเอง อีกทั้งแอพพลิเคชั่นพื้นฐานบน Facebook นั้นยังเอื้อประโยชน์ต่อการทำ SEO ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายสังคมแห่งอื่นได้ด้วย


บน Facebook มีฟังก์ชันหลายอย่างที่ทำให้คุณสามารถใช้งาน ใส่ความคิดสร้างสรรค์ กระจายข่าว และสร้างปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกท่านอื่นบน Facebook ได้ ซึ่งแต่ละฟังก์ชันนั้นทำให้คุณเพิ่มขีดความสามารถในการใช้บริการในเครื่อง ข่ายของ Facebook ให้เพิ่มขึ้น เช่น กระดานบนหน้าเพจ การแปะโน้ต การสร้างลิงก์ และการใช้ RSS Reader เพื่อช่วยติดตามความเคลื่อนไหวของสมาชิกที่เราสนใจ

นอกจากนี้เครื่องมือพื้นฐานซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วอย่าง Groups และ Events ที่เรามักจะพบเห็นอยู่แล้วหลังจากสมัครเป็นสมาชิก ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือหลักที่ช่วยในการโปรโมตกิจกรรมและข่าวสาร ต่างๆ โดยใช้เทคนิคของการทำ SEO เข้ามาช่วยได้

และ เนื่องจากทุกขั้นตอนมีความสำคัญ จึงขอกล่าวแบบ step-by-step เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนในการ Setup เครื่องมือเหล่านี้บน Facebook เพื่อที่จะทำให้การค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณ และการจัดอันดับใน Facebook ของคุณดีขึ้น ทั้งยังช่วยดึงดูดสมาชิกใน Facebook ที่มีกว่า 200 ล้านคนทั่วโลกเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมแก๊งของคุณเพิ่มขึ้นได้ด้วย


การสร้างกลุ่ม (Groups)
สำหรับ ฟังก์ชันการสร้างกลุ่ม เป็นฟังก์ชันที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว และยังให้คุณสามารถเชิญ (Invite) ผู้อื่นเข้ามาร่วมกลุ่มได้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องนำเสนอคอนเทนต์ที่ดีๆ หรือทำโปรโมชั่นใดๆ เพื่อที่จะทำให้กลุ่มที่คุณสร้างได้รับความนิยม เพียงแค่คุณคลิก Invite เพื่อเชิญคนอื่นๆ มาร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มเท่านั้น

1. ชื่อกลุ่ม (Group Name)
ควร จะตั้งชื่อกลุ่มให้อธิบายลักษณะของกลุ่มที่คุณจะสร้าง หรือตั้งชื่อให้แปลกๆ สะดุดหู แต่ก็ไม่ใช่แนวที่ทำให้น่าตกใจหรือดูน่ากลัว เช่น “A Group for people who love candy!!” อาจจะอ่านแล้วไม่ค่อยน่าเข้าร่วมสักเท่าไร แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น “Candy Lovers“ ก็จะฟังดูน่าสนใจขึ้นมาอีกนิด หรือจะให้ตรงประเด็นไปเลยก็ใช้คำว่า “Sweet, sugary obsession” ก็จะเป็นชื่อที่ดูสะดุดหูยิ่งขึ้น เมื่อคนที่ได้รับคำเชิญเปิดอ่านจะรู้สึกว่าน่าสนใจเข้าร่วมกลุ่มด้วย แต่ที่สำคัญคือ ควรใช้คำให้ถูกหลักไวยากรณ์ มีการใช้เครื่องหมายแบ่งวรรคตอนอย่างถูกต้อง และสะกดคำให้ถูกต้อง เพื่อให้กลุ่มที่คุณสร้างขึ้นมาน่าเชื่อถือมากขึ้น อีกทั้งเมื่อมีการค้นหาก็จะมีโอกาสถูกค้นพบได้สูงขึ้น


2. เครือข่าย (Network)
ใน ส่วนนี้ไม่ต้องคิดมาก เลือกเครือข่ายแบบ Global เพื่อจะทำให้ทุกคนในเครือข่าย Facebook สามารถเข้าถึงได้ เพราะคุณต้องการให้มีคนเข้าร่วม ก็ย่อมต้องการให้ถูกพบเห็นและเข้าถึงได้มากที่สุด แต่ในช่วงที่คุณทำการ Invite นั้นอาจจะไม่สามารถ Invite ได้ครั้งละมากๆ เพราะระบบอาจจะมีปัญหาได้ซึ่งอาจต้องทำการ Invite ซ้ำหลายๆ รอบไปยังกลุ่มคนที่แตกต่างกัน และเมื่อมีคนเข้าร่วมกลุ่มมากๆ แล้วการที่คุณจะการโปรโมตสิ่งใหม่ๆ เข้าไปก็จะทำได้ง่ายขึ้น และมีการรับรู้ในวงกว้างด้วย


3. คำอธิบาย (Description)
ใน ส่วนนี้จะเปิดโอกาสให้คุณใส่คำอธิบายรายละเอียดต่างๆ เพื่ออธิบายเกี่ยวกับกลุ่มที่คุณตั้งขึ้นมา โดยคำอธิบายเหล่านี้จะไปปรากฏอยู่ใต้ชื่อกลุ่ม สำหรับพื้นที่ใน ส่วนนี้นั้น คุณควรจะอธิบายรายละเอียดต่างๆ โดยใช้คีย์เวิร์ดและคำพ้องที่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ที่สำคัญพื้นที่ในส่วนนี้ยังไม่อนุญาตให้คุณใช้ HTML ได้ ดังนั้นถ้าคุณจะเพิ่มลิงก์เข้าไปก็จะทำให้ข้อความที่คุณเขียนดูไม่สวยงามนัก เพราะฉะนั้นในส่วนนี้จึงไม่สามารถตกแต่งรูปแบบที่หลากหลายได้มาก

อย่าง ไรก็ตาม การสร้างกลุ่ม ไม่ได้ต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับกลุ่มที่สร้างขึ้นมามากนัก ควรทำให้กระชับ เข้าใจง่าย ตรงประเด็น แต่การใช้คีย์เวิร์ดใส่เข้าไปในคำอธิบายมากๆ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ Facebook สามารถค้นหากลุ่มของคุณได้พบ และมีอันดับที่ดีในการค้นหาบน Facebook ได้เช่นกัน


4. ประเภทของกลุ่ม (Category)
อย่า ลืมที่จะระบุประเภทของกลุ่มที่คุณสร้าง โดย Facebook จะมีการแยกประเภทของกลุ่มต่างๆ เอาไว้ เช่น Business, Common Interest, Internet & Technology, Organizations อีกทั้งยังมีการแยกประเภทของแต่ละกลุ่มย่อยลงไปอีก ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกใน Facebook สามารถค้นหากลุ่มที่ต้องการจะเข้าร่วมได้ง่ายขึ้น ดังนั้นคุณควรจะเลือกประเภทของกลุ่มให้ตรงกับกลุ่มที่ต้องการสร้างด้วย


5. ที่ทำงาน (Office)
พื้นที่ ในส่วนนี้สำหรับการใส่ที่อยู่ สถานที่ตั้งของออฟฟิศของคุณ หากคุณมีที่ตั้งของออฟฟิศจริงๆ และต้องการเผยแพร่ให้คนรู้จักที่ตั้งออฟฟิศเพื่อจะได้ติดต่อกันง่ายขึ้น ก็ใส่ที่อยู่ลงไป หรือจะใส่ URL เว็บไซต์ของบริษัท หรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มลงไปก็ได้ ซึ่งคุณไม่ควรพลาดที่จะทิ้งคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มของคุณเอาไว้สัก 2-3 คำ ไม่ควรปล่อยให้เป็นที่ว่างเอาไว้


6. อีเมล (E-mail)
หาก คุณต้องการให้คนติดต่อคุณทางอีเมลได้ ก็ใส่อีเมลลงไป ซึ่งการใส่อีเมลนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของกลุ่มด้วย ถ้ากลุ่มที่คุณสร้างเกี่ยวกับธุรกิจ ควรใส่อีเมลเพื่อให้ผู้สนใจติดต่อได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่ต้องการให้มีคนติดต่อเข้ามาก็ไม่จำเป็นต้องใส่อีเมลไว้ แต่ถ้าจะให้ดี ควรจะสร้างอีเมลหรือไปสมัครใช้ฟรีอีเมล โดยใช้ชื่อ Username ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มที่คุณสร้างเอาไว้ เพื่อใช้ติดต่อภายในกลุ่ม หรือให้ผู้สนใจติดต่อเข้ามาได้ ซึ่งจะสร้างความแน่นแฟ้นกับสมาชิกในกลุ่มได้มากขึ้น


7. ถนน (Street)
หาก มีที่ตั้งออฟฟิศอย่างเป็นทางการ จะใส่ชื่อถนนที่ตั้งออฟฟิศลงไปก็ไม่เสียหาย ซึ่งในส่วนนี้คุณสามารถทิ้งคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องเอาไว้ได้อีกเช่นกัน จะปล่อยให้เป็นช่องว่าง หรือจะเขียนลงไปว่า “The internet” ก็ได้ หรือไม่ก็อาจใส่ชื่อถนนที่รู้จักมากๆ เพื่อช่วยในการค้นหา


8. ชื่อเมือง (City/Town)
Facebook ต้องการที่จะให้คุณเติมเต็มพื้นที่ในส่วนนี้ ซึ่งก่อนที่จะพิมพ์ชื่อเมืองอะไรลงไป ก็ควรจะฉุกคิดสักนิด โดยอาจจะเลือกเมืองใหญ่ซึ่งเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นหา หรือคุณจะปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่างก็ได้


9. รูปภาพ (Photo)
หลัง จากกรอกข้อมูลในส่วน Group Info เสร็จแล้ว จะเข้ามายังส่วนของ Customize ที่จะให้คุณ Upload ภาพของกลุ่มที่สร้างขึ้นไปโชว์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม ซึ่งในหน้านี้จะมีส่วนที่ให้กรอกข้อมูลเว็บไซต์ด้วย โดยคุณสามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ลงไปได้โดยไม่จำเป็นต้องใส่ http:// นำหน้าก่อน


การสร้างเหตุการณ์ (Events)
การ สร้างเหตุการณ์ หรือ Events ใน Facebook เพื่อเชิญชวนคนเข้ามาร่วมในกิจกรรมที่จัดขึ้นนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ เช่นเดียวกับการสร้างกลุ่ม แต่จะมีขั้นตอนที่น้อยกว่า ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้จะช่วยให้นักการตลาด นักโฆษณา หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทำงานกันได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น


1. ชื่อ (Name)
คิดชื่อ Events ที่ดึงดูดใจ จำได้ง่าย และยังเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะมาดึงความสนใจของผู้อ่าน โดยการใส่คีย์เวิร์ดและการใช้คำพ้องที่มีความหมายใกล้เคียงกันเข้ามาช่วย จะทำให้การค้นหาบน Facebook ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีโอกาสถูกค้นพบง่ายขึ้น


2. Tagline
เป็นส่วนที่ช่วยอธิบาย Events ที่จัดให้มีความกระจ่าง ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มคำที่มีความหมายเหมือนกับชื่อ หรือคำที่มักจะใช้ในการค้นหาลงไปในพื้นที่นี้ หรือจะใส่ชื่อผู้จัดงาน Events ลงไปก็ได้ ซึ่ง Tagline เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการทำ SEO บน Facebook


3. เครือข่าย (Network)
ตรง ส่วนนี้ก็จะเหมือนกับการสร้างกลุ่ม โดย Facebook จะตั้งค่าให้เป็น Global ไว้ให้ แต่ถ้าต้องการจะเปลี่ยนให้เป็น Events เฉพาะในประเทศก็สามารถเลือกได้ แต่อย่าลืมว่า Events ที่จัดควรจะเปิดให้คนเข้ามาร่วมด้วย ช่วยแจมกันให้มากที่สุด


4. Host
จะ ใช้ชื่อกลุ่มของคุณใส่ลงไป อาจใช้ชื่อเล่น หรือจะใช้ชื่ออื่นๆ ของคุณใส่ลงไปก็ได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นชื่อที่อยู่บน Profile ใน Facebook ของคุณเท่านั้น แต่ถ้าคุณเป็นนักจัด Events ตัวยง จัดบ่อยๆ และถี่ๆ ก็ควรตั้งชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับตัวเอง เพื่อให้คนจดจำได้ง่าย อีกทั้งหากผู้ที่เคยเข้าร่วม Events กับคุณมาก่อนเกิดติดใจการจัดงาน Events ของคุณ และต้องการติดตาม หรือค้นหากิจกรรมที่จัดขึ้นโดยคุณอีกจะได้จำไปค้นหาได้ง่ายขึ้น


5. ประเภทของงาน (Event Type)
Facebook จะมีการจัดหมวดหมู่ประเภทของงาน Events เอาไว้ เช่น Party, Education Meeting, Music/Arts, Sport, Trips แล้วในแต่ละหมวดก็จะมีประเภทแยกย่อยลงไปอีก ซึ่งเราควรจะเลือกประเภทของงานให้ตรงกับงานที่จะจัดให้มากที่สุด


6. คำอธิบาย (Description)
ตอน นี้ก็มาถึงขั้นตอนที่ต้องใช้พลังทางความคิด และการสร้างสรรค์กันสักหน่อย โดยพื้นที่ส่วนนี้ยังคงไม่อนุญาตให้ใช้ HTML ได้ ดังนั้นสิ่งที่คุณสามารถทำได้คือ การใช้ข้อความ (Text) ล้วนๆ สื่อไปยังผู้อ่าน และอย่าลืมว่าควรจะอธิบายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และใช้คีย์เวิร์ดที่มาช่วยอธิบายงานที่จัดให้มากที่สุดด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องทำให้ข้อความที่เขียนสละสลวย ไม่ทำให้ผู้อ่านสับสนหรือเข้าใจยาก การวางข้อความแต่ละบรรทัดจะต้องสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้อง เลื่อนหน้าจอไป-มา และควรใช้ตัวหนา ตัวใหญ่ ในข้อความที่มีความสำคัญ เพื่อให้สะดุดตา


7. เวลาเริ่มงานและจบงาน (Start and End Time)
โดย ทั่วไปถ้ามีการจัดกิจกรรมจริงๆ เกิดขึ้นการใส่สถานที่ และเวลาเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพราะมีหมายกำหนดการที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณใช้ Event เพื่อการโปรโมตกิจกรรม หรืออะไรบางอย่าง การทำ Events แบบเสมือนจริง เพื่อช่วยในการทำประชาสัมพันธ์ หรือการตลาด ก็สามารถทำได้เช่นกัน

อย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะเปิดเว็บไซต์ หรือแบรนด์ใหม่บน Facebook ในอีกสองเดือนข้างหน้า คุณก็เตรียมจัด Events ขึ้นมาแจ้งล่วงหน้าว่าในอีกสองเดือนข้างหน้าจะมีการเปิดตัวเว็บไซต์อะไร แบรนด์อะไร ที่ไหน เพื่อเชิญสมาชิกที่สนใจมาเข้าร่วมงานก่อนได้ ไม่จำเป็นต้อง Set Events ขึ้นเฉพาะในวันนี้ เวลานี้ หรือในอีกสองวันข้างหน้าเท่านั้น


8. สถานที่ (Location)
หาก มีสถานที่จัดงานจริงควรใส่ลงไปได้เลย แต่ถ้าไม่ได้มีสถานที่จัดงานจริง แต่เป็นการโปรโมตกิจกรรมบางอย่างที่จะมีขึ้นบนอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ ให้ใส่ URL ของเว็บไซต์ลงไปเพื่อให้สามารถติดตามดูได้


9. เมือง (City)
เมือง ที่จะมีการจัดงาน Events หากมีการจัดงานจริงควรใช้สถานที่จริง แต่ถ้าเป็นการจัดงานแบบ Internet Events จะปล่อยให้เป็นช่องว่างหรือจะสุ่มเลือกชื่อสักเมืองหนึ่งใส่ลงไปก็ได้ แต่จะให้ดีก็ควรเลือกใส่ชื่อเมืองที่มีขนาดใหญ่และเป็นที่รู้จักในวงกว้างลง ไปดีกว่า


10. โทรศัพท์และอีเมล (Phone and E-mail)
ใน ส่วนนี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับให้สมาชิกหรือผู้สนใจติดต่อเข้าร่วมงาน แต่ถ้างานนั้นเป็นการจัดแบบส่วนตัว เป็นการภายในหมู่เพื่อนด้วยกันเอง ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องใส่เบอร์โทรศัพท์ลงไป หรืออาจจะคุยกันผ่านกระดานจัดงาน (Event wall) ก็ได้


11. รูปภาพ (Image)
มา ถึงขั้นตอนการใส่รูปภาพของ Events ที่จัด คุณจะใส่โลโก้ของงาน สร้างรูปโลโก้ของตัวเองขึ้นมา หรือจะใส่ภาพโฆษณาของงานที่จัดขึ้นก็ได้ ซึ่งภาพที่นำมาโชว์นี้คุณควรใส่ใจและให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพราะจะช่วยสร้างเอกลักษณ์ การจดจำให้กับผู้จัดงานเอง และดึงดูดให้มีคนเข้ามาร่วมงานมากขึ้นด้วย

แม้ว่า Events ที่จัดขึ้นจะไม่ถูกบันทึกลงในฐานข้อมูลของ Search Engine อย่าง Google แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถใช้เทคนิคการทำ SEO ใน Facebook ได้ เพราะอย่าลืมว่าสมาชิกผู้ใช้ Facebook มีจำนวนมหาศาลกว่า 200 ล้านคน อีกทั้งยังมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ และปริมาณการเสิร์ช (Search) ของสมาชิกบน Facebook เองนั้นก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าการค้นหาจาก Google ดังนั้นถ้าคุณจะเสียเวลาเพียงเล็กน้อยเพื่อค้นหาคีย์เวิร์ดที่สำคัญให้กับ Groups และ Events ที่คุณสร้างขึ้นมา ก็จะทำให้อันดับของการถูกค้นพบใน Facebook ของคุณอยู่ในอันดับต้นๆ ได้

ฉะนั้นการนำหลัก การพื้นฐานของ SEO เข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์จากพลังสมองของมนุษย์ จะช่วยให้การโปรโมตแบรนด์สินค้า แบรนด์ของบริษัท กิจกรรม หรือธุรกิจของคุณมีประสิทธิภาพ เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และแทบจะไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพื่อการทำโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

BLOGSDESING FOR YOU | Copyright 2009 Tüm Hakları Saklıdır | Blogger Template by GoogleBoy ve anakafa | Sponsored by Noow!